จากซ้ายไปขวา : นายปพนธ์ มังคละธนะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็ก TMB , นางวิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. และนายวัลลภ เตชะไพบูลย์ รองผจก.ทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
ภาครัฐและสถาบันการเงินออกมาประสานเสียงหลังพบว่าปัญหาเรื่องการ เข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นปัญหาหลักของเอสเอ็มอีไทย ควรหาทางเยียวยาและแก้ไขให้ตรงจุด ล่าสุด ทีเอ็มบี สสว.และบสย.จับมือรวม ”พลัง” จัดกิจกรรมเสริมความรู้ทางการเงินและวิธีเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ
นายปพนธ์ มังคละธนะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็ก TMB กล่าวว่า ธนาคารได้จับตาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอีมาโดยตลอด และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ได้มีการพัฒนา สินเชื่อ 3 เท่าด่วน ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี ที่ให้วงเงินสูงถึง 3 เท่า และทีเอ็มบี เอสเอ็มอีโอดี ไม่ต้องใช้หลักประกันสินเชื่อแบบวงเงินหมุนเวียน โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีข้อจำกัดเรื่องหลักทรัพย์ อย่างตรงจุดที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีเอสเอ็มอีอีก เป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการดูแล ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ทีเอ็มบีโดยได้รับการสนับสนุนจากสสว. และบสย. จึงจัดกิจกรรม “เติมพลังการเงินให้ SME ก้าวไกล” ขึ้นเพื่อเป็นเวทีที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารการ เงินสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงแนะนำวิธีเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ และ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ TMB จะได้เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า มีส่วมร่วมในการคลี่คลายปัญหา เป็นกิจกรรมที่ TMB จัดขึ้นเพื่อเติมเต็มความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Underserved) ของลูกค้ากลุ่มนี้ โดยมุ่งหวังให้ลูกค้าได้รับความรู้และประสบการณ์ทางการเงินที่ดี ซึ่งจะช่วยให้การบริหารธุรกิจของเขามีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความ พร้อมที่จะรับสถานการณ์ด้านต้นทุนต่อไป กิจกรรม ”เติมพลังการเงินให้ SME ก้าวไกล” เริ่มครั้งแรกที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะจัดในส่วนภูมิภาค 5 แห่ง คือ นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ นครราชสีมา อยุธยา ระยอง และเวียนมาที่ กทม.เป็นการส่งท้ายกิจกรรมปี 2554
นางวิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ สสว. เปิดเผยว่า สสว.ติดตามให้ความสำคัญกับปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็ม อีตลอดมา พบว่าระดับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไทย เมื่อเทียบกับทั่วโลกอยู่ในลำดับที่ 71 ในการจัดอันดับของธนาคารโลก ในขณะที่ความง่ายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่อยู่ในอันดับ 1 คือ มาเลเซีย ประเทศไทยมีวิสาหกิจประมาณ 3 ล้านราย เป็นเอสเอ็มอี 2.9 ล้านราย ดังนั้นเอสเอ็มอีจึงเป็นหลักในการจ้างงานส่วนใหญ่ของประเทศ แต่สามารถส่งออกได้เพียงประมาณ 30% ของการส่งออกทั้งหมด ดังนั้น ปัญหาที่เห็นชัดคือ เอสเอ็มอีจ้างแรงงานมากแต่กลับส่งออกได้น้อย ในจำนวนเอสเอ็มอี เกือบ 3 ล้านราย มีผู้ประกอบการขนาดกลาง ( Mediem ) เพียง 10,000 ราย นอกนั้นเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก (Small) เป็นจำนวนมาก ปัญหาคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นขนาดกลางได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน นอกจากนี้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เอสเอ็มอีไทยจะต้องรับสถานการณ์ 2 ด้าน ด้านลบ คือ การแข่งขันที่สูงขึ้น และด้านบวก คือจะได้ประโยชน์ในเรื่องภาษีที่ลดลงในระหว่างการซื้อขายในประชาคมอา เซียน แต่ความกังวลใหญ่ของเอสเอ็มอีก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องแหล่งเงินทุน ดังนั้น การที่ทีเอ็มบี สสว. และ บสย. รวม ”พลัง” จัดกิจกรรมนี้จะทำให้เอสเอ็มอีรู้วิธีเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ตลอดจนนำองค์ความรู้และข้อมูลต่างๆ ไปใช้เพื่อขยายหรือพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่งต่อไปได้เป็นอย่างดี
ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- อังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 17:06:20 น.
วิเคราะห์ข่าว
ตอบลบหลังจากที่ภาครัฐพบว่าปัญหาเรื่องการ เข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นปัญหาหลักของเอสเอ็มอีไทย TMB จึงจัดกิจกรรม “เติมพลังการเงินให้ SME ก้าวไกล” เพื่อตอบโจทย์โดยการให้ความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า TMB เองก็เริ่มรุกเข้า ในตลาด เอสเอ็มอีไทยแล้ว เพื่อที่จะขยายฐานของกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม อีกทั้งยังออกผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มลูกค้า เอสเอ็มอีอีก เช่น การให้วงเงินสามเท่า เป็นต้น ทำให้ตอนนี้ TMB จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อเติมเต็มความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ด้วยสิ่งทั้งหมดที่พูดมาทำให้เขื่อได้ว่า จะมีกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี หันมาสนใจในตัวของ TMB มากยิ่งขึ้น